<< Back to Feature stories

         
         
     


Emeritus Prof. Dr. Alan J. Bishop

     


 ในปี 2551 นี้ ถือได้ว่าเป็นการครบรอบ 5 ปี ของความร่วมมือทางวิชาการอันยาวนานของ ศูนย์วิจัยเฉพาะทางด้านคณิตศาสตรศึกษากับ Prof. Dr. Alan   J. Bishop ผู้เชี่ยวชาญด้านคณิตศาสตรศึกษาระดับโลกจาก มหาวิทยาลัยMonash ประเทศออสเตรเลีย ที่ผ่านมานั้นทางศูนย์ฯ ได้รับเกียรติจากท่านมาเป็นวิทยากรและผู้บรรยายพิเศษที่ทางศูนย์ฯ ได้จัดขึ้นดังต่อไปนี้

กิจกรรมที่ 1 การอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง Social and Cultural in Mathematics Education ให้กับคณาจารย์และนักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษาของประเทศไทย จัดขึ้นระหว่างวันที่ 5-9 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2547

               

 

  

 

 

Educational Studies in Mathematicsกิจกรรมที่ 2 ในวันที่ 30 เดือนมกราคม พ.ศ.2549  Prof. Dr. Alan J. Bishop พิจารณามอบหนังสือ Educational Studies in Mathematics (ESM) ให้กับศูนย์วิจัยคณิตศาสตรศึกษา             
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น  เพื่อเป็นศูนย์กลางในการเผยแพร่ ซึ่งนับจากฉบับแรกจนถึงปัจจุบันท่านได้มอบให้ทางศูนย์ฯ ปัจจุบันรวมเป็นจำนวนทั้งสิ้น 217 เล่ม

 

กิจกรรมที่ 3 บรรยายพิเศษเรื่อง MATHEMATICS EDUCATION FOR THE KNOWLEDGE - BASED SOCIETY ในการประชุม APEC-Khon Kaen International Symposium 2006 และได้ทำพิธีมอบหนังสือ ESM ให้กับศูนย์วิจัยคณิตศาสตรศึกษาอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 14-17 มิถุนายน พ.ศ.2549

 

 

 

 

กิจกรรมที่ 4 ในระหว่างวันที่ 15-19 สิงหาคม 2550 Prof. Dr. Alan   J. Bishop ให้เกียรติมาเป็นผู้บรรยายพิเศษ เรื่องTEACHERS’ MATHEMATICAL VALUES FOR DEVELOPING MATHEMATICAL THINKING TROUGH LESSON STUDY ในการประชุม APEC-Khon Kaen International Symposium 2007

กิจกรรมที่ 5 บรรยายและอบรมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ “Reflections on Social and Cultural Aspects of Mathematics Education” ในวันที่ 25-26 พฤศจิกายน 2551 ด้วยความร่วมมือของ Prof. Dr. Alan   J. Bishop ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งสาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษาและศูนย์วิจัยคณิตศาสตรศึกษา จนกระทั่งปัจจุบันได้สร้างความมั่นคงในงานด้านคณิตศาสตรศึกษา ท่านได้กำหนดทิศทางของคณิตศาสตรศึกษาที่มีแง่มุมทางสังคมและวัฒนธรรม อันเป็นทิศทางที่สำคัญมากต่อการวิจัย การพยายามเข้าใจความยุ่งยากของการสอนและการเรียนรู้ซึ่งอาศัยเพียง แง่มุมทางด้านจิตวิทยาอย่างเดียว อาจไม่เพียงพอต้องอาศัยมิติทางสังคมวัฒนธรรมมาอธิบายด้วย กิจกรรมต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้คณาจารย์และนักศึกษาของไทยและประเทศเพื่อนบ้านที่เข้าร่วมกิจกรรม ได้รับประโยชน์เป็นอย่างสูง และทำให้แง่มุมทางด้านสังคมและวัฒนธรรมในคณิตศาสตรศึกษาเป็นที่รู้จักกันในวงกว้าง

 

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

     


     
Email
|
sctbn@staff2.mahidol.ac.th
     

 

<< Back to Feature stories